เป็นเกาะขนาดใหญ่ มีรูปร่างคล้ายดาวสี่แฉก อยู่ระหว่างเกาะช้างกับเกาะกูด ห่างจากฝั่งประมาณ 38 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 9,000 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสวนมะพร้าว โดยรอบมีอ่าวและชายหาดที่สวยงาม เช่น บริเวณอ่าวตานิด อ่าวไผ่ อ่าวโปร่ง อ่าวผาด อ่าวแดง บริเวณชายฝั่งรอบเกาะและเกาะใกล้เคียงพบแนวปะการังที่สมบูรณ์ซึ่งมีความสวยงามเป้นอย่างยิ่ง บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว ในช่วงฤดูท่องเที่ยวเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม-พฤษภาคม ชุมชนดั้งเดิมบนเกาะหมากส่วนใหญ่เป็นเขมรเชื้อชาติไทยที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อครั้งเมืองประจันตคีรีเขตร หรือเกาะกงเป็นของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2447 โดยมีหลวงพรหมภักดี ต้นตระกูลตะเวทิกุล เป็นผู้ควบคุมคนจีนบนเกาะกง คนบนเกาะส่วนใหญ่เป็นเครือญาติกัน มีอาชีพเกษตรกรรมทำสวนยางพารา และสวนมะพร้าว จนเกาะหมากได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกมะพร้าวที่สำคัญของจังหวัดตราด
หลวงพรหมภักดี ชื่อเดิม เปลี่ยน ตะเวทีกุล บรรพบุรุษของชาวเกาะหมาก จำชื่อบุคคลนี้ไว้ให้ดี เพราะคุณจะได้ยินจนติดหูเมื่อมาเยือนเกาะหมาก ท่านเป็นปลัดฝ่ายจีนในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทำหน้าที่ควบคุมและเก็บส่วยจากคนจีนที่เข้ามาค้าขายในไทย เดิมอาศัยอยู่บนเกาะปอ ส่วนหนึ่งของจังหวัดเกาะกง (ปัจจุบันอยู่ในประเทศกัมพูชา)
สมัยนั้นเกาะกงยังเป็นดินแดนของไทยตั้งอยู่บนเส้นรุ้งเดียวกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงพระราชทานนามเกาะกงว่า ปัจจันตคิรีเขตร เพื่อให้คล้องกับชื่อประจวบคีรีขันธ์ (ชื่อเดิมว่าบางนางรมย์) เกาะปอในยุคนั้นเป็นศูนย์กลางของการปกครองและการค้าขาย มีประชาชนตั้งบ้านเรืออยู่หนาแน่นและเป็นที่ตั้งของที่ว่าราชการเมืองปัจจันตคิรีเขตร
เมื่อถึงยุคฝรั่งเศสล่าอาณานิคมในปี พ.ศ. 2447 เราสูญเสียดินแดนส่วนจันทบุรีและตราด รัชกาลที่ 5 จึงทรงเจรจาขอคืนโดยแลกกับเสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ ซึ่งรวมถึงพื้นที่เกาะปอด้วย เป็นเหตุให้ต้องอพยพคนไทยทั้งหมดไปยังพื้นที่ใหม่
หลวงพรหมภักดีเตรียมแผนการอพยพอย่างดี ส่งซินแสมาหาทำเลที่ตั้งใหม่ จนพบเกาะหมาก มีสัณฐานเป็นราบ รูปร่างคล้ายมังกร ตามตำราจีนเชื่อว่าอยู่แล้วจะเจริญ จึงขอซื้อเกาะนี้มาจากเจ้าสัวเส็ง เจ้าของเดิม แล้วส่งลูกชาย 3 คน ได้แก่ นายอู๋ นายเอิบ นายอาบ เข้ามาบุกเบิก ก่อนที่ท่านจะตามมาภายหลัง สถานที่ตั้งของบ้านหลังแรกก็คือตำแหน่งเดียวกับบ้านหลวงพรหมภักดี หลังสีฟ้าสดใส หน้าอ่าวสวนใหญ่ ตกทอดมาถึงหลานชายของหลวงพรหมภักดีที่ยังอาศัยอยู่ในปัจจุบัน
ยุคนั้นเป็นช่วงประกาศเลิกทาสพอดี ทำให้คนชั้นบ่าวจากเกาะปอแตกสาแหรกไปอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ เช่น คลองใหญ่ เกาะช้าง เกาะกูด บางคนก็ยังตกค้างอยู่บนเกาะกง เรียกกันว่า “คนไทยเกาะกง” ส่วนคนชั้นเจ้านายส่วนมากย้ายมาอยู่กันที่เกาะหมาก
คนชั้นเจ้านายแตกออกเป็น 5 ตระกูลใหญ่ ได้แก่ ตะเวทีกูล วงศ์คิรี สุทธิธนกูล จันทสูตร และสุขสถิตย์ ซึ่งทั้งหลายมีบรรพบุรุษคนเดียวกัน เกาะหมากจึงคล้ายเป็นครอบครัวใหญ่ครอบครัวหนึ่ง บนพื้นที่ 9,500 ไร่ เป็นพื้นที่สาธารณะ 500 ไร่ และของคนภายนอกไม่ถึงร้อยละ 10 นอกจากนั้นล้วนเป็นของคนจาก 5 ตระกูลข้างต้น
ติดต่อ: 092-6694946/ 092-6694947
ตารางเวลา: ไป 11.30 น., 14.30 น./ กลับ 08.30 น., 12.30 น.
ติดต่อ: 087-6147641/ 087-6147642
ตารางเวลา: ไป 12.30 น., 16.00 น./ กลับ 09.00 น., 13.30 น.
ติดต่อ: 093-3949324/ 093-3949325
ตารางเวลา: ไป 10.30 น., 14.00 น./ กลับ 08.00 น., 11.30 น.
ติดต่อ: 063-863-6665, 096-370-3899
ตารางเวลา: โปรดสอบถามผู้ให้บริการ
ติดต่อ: 090-3949986/ 090-3949987
ตารางเวลา: ไป 15.00 น./ กลับ 12.30 น.
ติดต่อ: 094-72444555/ 094-7244456
ตารางเวลา: โปรดสอบถามผู้ให้บริการ
ติดต่อ: 080-2856132/ 083-0789008/ 083-0789006/ 034-155925
ตารางเวลา: โปรดสอบถามผู้ให้บริการ